16 ตุลาคม 2551

ข้อสอบความรู้เบื้องต้น Topology 5 ข้อ ปรนัย

1.การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดที่ข้อมูลวิ่งแบบทางเดียวบนสายสัญญษณ
a. ฺStar Topology
b. Bus Topology
c. Star-Ring Topology
d. Ring Topology

2.การแบ่งปันการใช้ข้อมูลในระบบเครือข่ายยุคแรก ๆ ใช้การบันทึกข้อมูลลงดิสก์แล้วส่งไปยังผู้ใช้รายอื่น ๆ เรียกระบบเครือข่ายแบบนี้ว่าอะไร
a. Diskette Netwrok
b. LinkerNet
c. SneakerNet
d. Topology

3.ข้อใดคือข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบ Ring Topology
a. ใช้สายเคเบิลจำนวนมาก
b. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ส่วนกลางเสียเป็นผลให้ระบบล้มเหลว
c. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียจะเป็นผลกระทบทั้งระบบ
d. ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการติดตั้งระบบ

4.Topogogy แบบใดที่ใช้สายเคเบิลน้อยที่สุด
a. Star Topology
b. Bus Topology
c. Ring Topology
d. Mesh Topology

5.การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้สายเคเบิลร่วมกันเป็นการเชื่อมต่อแบบใด
a. Star Topology
b. Ring Topology
c. Bus Topology
d. Mesh Topology

Topology

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้


ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก


ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

e-Learning ที่เกี่ยวข้อง

e-learning ที่เกี่ยวข้องที่สนใจ
- e-learning ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อโครงการ ChulaOnline มี URL ในการเรียกดูคือ www.chulaonline.com โดยปัจจุบันเปิดบริการให้ความรู้หลากหลายวิชา ทั้งสำหรับนักศึกษาและบุคคลภายนอก
ข้อดี เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ค้นหาความรู้ในวิชาที่เรียน สิ่งที่อยากศึกษาเพิ่มเติมคือเนื้อหาเรื่องการทำโปรเจ็ค

e-Learning ที่เกี่ยวข้อง

จาก โรงเรียนพิมายวิทยา โดย ... วีรจินต์ นาคะนิเวศน์
• Bank of America Securities: e-learning คือการมาบรรจบกันของการเรียนและอินเทอร์เน็ต
• Cornelia Weggen, WR Hambrecht & Co: e-learning [คือ] การส่งเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคทั้งมวล ซึ่งหมายรวมถึงอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต ดาวเทียม วิทยุโทรทัศน์ ออดีโอ/วิดีโอเทป TV แบบโต้ตอบ และ CD-ROM
• Elliott Masie, The Masie Center: e-learning คือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อออกแบบ นำส่ง เลือก บริหารจัดการ และขยายขอบเขตของการเรียนออกไป
• Arista Knowledge Systems: e-learning คือการใช้พลานุภาพของเครือข่ายเพื่อให้การเรียนเกิดขึ้นได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่
• ChulaOnline : ทางเลือกหนึ่งในปัจจุบันที่มีขึ้นเพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ช่วยให้ผู้เรียนซึ่งอยู่ในจุดที่ห่างไกลจากผู้สอนสามารถที่จะเรียนเนื้อหาวิชา หลักสูตรต่างๆได้อย่างไม่จำกัดสถานที่และเวลา
• Thai2Learn : การศึกษาโดยใช้สื่อการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ ซีดี รอม โดยมีระบบคอมพิวเตอร์รองรับ เพื่อให้ผู้เรียน สามารถได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ และอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนในการเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา
• iknow : ระบบที่มีกระบวนการเรียนการสอนที่ใช้ Electronic อาจเป็นได้ทั้ง offline, online, server-based, web-based หรือ เครื่องที่ใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เช่น เครื่องวิทยุ - เทป - ซีดีรอม - TV - computer และแม้กระทั่งผ่านระบบดาวเทียม ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจว่า e-learning หมายถึงการศึกษาระบบที่ใช้ Internet technology เป็นหลัก
• Thailand Securities Institute (TSI) : E เป็นอักษรย่อของคำว่า Electronics (อิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเมื่อรวมกับคำว่า Learning ที่แปลว่า การเรียนรู้ ก็จะได้คำจำกัดความของ E-Learning คือ ระบบหรือกระบวนการเรียนรู้ หรือการเรียนการสอน ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วิดีโอ ซีดีรอม ระบบดาวเทียม ระบบ LAN และ Internet

คำอธิบายรายวิชา เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

ความรู้เบื้องต้นเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เครือข่าย การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินอล ชั้นของโปรโตคอลมาตรฐาน OSI รูปแบบต่าง ๆ ของเครือข่าย X.25 เนตเวิร์คและดิจิตอลเนตเวอร์ค การประมวลผลแบบตามลำดับและแบบขนาน การไปป์ไลน์ (Pipelining) การประมวลผลแบบเวคเตอร์ (Vector Processing) การประมวลผลแบบอะเรย์ (Array Processors) มัลติโปรเซสเชอร์ (Multiprocessor) และฟอลท์โทเลอร์แรนซ์ (Fault Tolerance